อุปกรณ์คอมพิวเตอร์

อุปกรณ์คอมพิวเตอร์

วันพฤหัสบดีที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2552

สเป็กเครื่อง

- เทคโนโลยีประมวลผล (Processor Type)
- Intel® Core™ 2 Duo T5550
- ความเร็วในการประมวลผล (Processor Speed) : 1.66GHz
- หน่วยความจำแคช (Cache Size) : 2MB cache
- Bus Speed (MHz) : 667Mhz FSB
- ชนิดหน่วยความจำ (RAM Type) : DDR2 667MHz
- หน่วยความจำหลัก (RAM) : 2GB
- รองรับหน่วยความจำสูงสุด (RAM Max. Expandable) : 4GB
- สื่อบันทึกจัดเก็บข้อมูล (Hard Drive) : 5400RPM SATA Hard Drive
- Hard Drive (GB) : 160GB
- ชนิดหน้าจอ (Display Type) : WXGA TFT Display with TrueLifeTM
- ขนาดหน้าจอ (Display Size) : 13.3"
- การ์ดแสดงผล (Graphics Controller) : Intel Graphics Media Accelerator X3100
- ระบบเสียง (Audio) : High Definition Audio 2.0
- Modem Speed (Kbps) : 56Kb
- การเชื่อมต่อเครือข่ายภายใน (LAN)
Integrated 10/100
- ช่องต่อการ์ดหน่วยความจำ (Card Reader)
8-in-1 removable memory card reader
- ช่องเชื่อมต่อ (Connector Interface)
ExpressCard 54 mm slot
RJ45 Ethernet port (10/100)
IEEE 1394a
Video: VGA
Video: HDMI
- ช่องเชื่อต่ออุปกรณ์แบบยูเอสบี (USB Ports) : 2 x USB 2.0
- กล้องดิจิตอล (Webcam) : Integrated 2.0 Mega Pixel
- ระบบปฏิบัติการ (OS)
Windows Vista® Home Premium
- ไมโครโฟน (Microphone) : Dual digital mics
- ออปติคอลดิสก์ไดร์ฟ (Optical Disc Drive)
CD/DVD burner (DVD+/-RW Drive)
- การเชื่อมต่อไร้สาย (Wireless LAN)
Intel Pro/Wireless 3945 802.11 a/g Mini Card Wireless
- น้ำหนัก (Weight) : 1.80 kg.



Pladao Office


Pladao Office

กระแสในยุคปัจจุบันถ้าผมบอกว่าผมไม่รู้จัก ปลาดาว หรือโปรแกรมสำนักงานที่ชื่อว่า "ปลาดาวออฟฟิศ รุ่น 1.0"
ผมคงถูกมองด้วยสายตาที่เหยียดหยามว่ามาจากป่าไหนแน่ๆเลยเคยมีคนพูดถึงขนาดที่ว่า ปลาดาวก้ชู าติ มันทำให้ผมฉุกคิดขึ้นมาว่า
คำคำนี้มีที่มาและที่ไปอย่างไร ทำไมถึงมีคนคิดถึงขนาดที่ว่าปลาดาวกู้ชาติ....
ถ้าจะพูดกันถึงเรื่องนี้ก็คงต้องมีการย้อนไปพูดกันถึงกฎหมายลิขสิทธิ์กันเสียก่อน
ปัจจุบันการละเมิดลิขสิทธิ์ทางโปรแกรมคอมพิวเตอร์เป็นปัญหาหลักที่ถูกหยิบยกมาเป็นประเด็นในทุกเวทีการประชุมระดับโลก
ท่านทราบหรือไม่ว่าประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่ถูกจับตามองเป็นพิเศษ เพราะมีการละเมิดลิขสิทธิ์ทางโปรแกรมคอมพิวเตอร์เป็นจำนวนมาก
ประเทศไทยมีอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์สูงเป็นอันดับที่ ๔ ในเอเชีย โดย ๘๒%
ของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานอยู่ในประเทศไทยเป็นการใช้ที่ไม่ถูกต้อง เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ (ข้อมูลจากบริษัทไมโครซอฟท์ประเทศไทย)
จนทำให้ประเทศไทยถูกจำกัดสิทธิ์หรือกระทั่งถูกกีดกันสิทธิ์จากบางประเทศที่เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ เช่น สหรัฐอเมริกา
ซึ่งส่งผลให้ประเทศไทยต้องเสียเปรียบ ในการเจรจาต่อรองราคาสินคา้ ส่งออกบนเวทกี ารคา้ โลก(WTO)
ดังนั้นทางรัฐบาลไทยจึงให้ความสำคญั อย่างมากกับการละเมิดลขิ สิทธิ์
และการละเมิดลิขสิทธิ์ทางโปรแกรมคอมพิวเตอร์ก็เป็นส่วนหนึ่งที่รัฐบาลให้ความสนใจ
มกี ารปราบปรามผลู้ ะเมดิ ลขิ สิทธท์ิ างโปรแกรมคอมพวิ เตอรอ์ ยา่ งจริงจงั โดยมีการจับกุมดำเนินคดีผู้กระทาํ การละเมิด
ตลอดจนมีการสนับสนุนให้มีการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ถูกกฎหมายทั้งในภาครัฐและเอกชน จะเห็นได้ว่ามีการจับ ปรับ กันอย่างต่อเนื่อง
จึงทำให้เกิดกระแสการตื่นตัวในการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ถูกกฏหมายขึ้นเป็นอย่างมาก
แต่การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ถูกกฎหมาย ก็ใช่ว่าจะไม่มีปัญหา
ปัจจุบันอย่างที่พวกเราทราบกันดีว่ามีการร่วมมือกันหรือเป็นพันธมิตรทางการค้าระหว่างผู้ผลิต Hardware และ Software
ทำให้เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่ผูกขาดการใช้งานบนระบบปฏิบัติการ Windows ของ บริษัท Microsoft
และโปรแกรมสำนักงานที่ชื่อว่า Microsoft Office เวอร์ชั่นต่างๆอีกมากมาย
ซึ่งหลายท่านรู้จักกันดีผมคงไม่ก้าวล่วงลงไปในรายละเอียดของโปรแกรม ประเด็นปัญหาอยู่ที่ว่าทั้งตัว OS คือ Windows และ
โปรแกรมสำนักงาน ต่างมีจำนวนผู้ใช้งานเป็นจำนวนมาก ถ้าจะประเมินกันเฉพาะ ประเทศไทยผมว่าตัวเลขคร่าวๆหน้าจะประมาณ 80 กว่า%
ของผู้ใช้งานทั้งหมด และส่วนใหญ่น่าจะเป็นโปรแกรมที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ทีนี้พอมีการเอาจริงเอาจังในการจับกุมผู้ละเมิดสิทธิ์ก็เดือดร้อนกันสิครับ
เพราะค่าลิขสิทธิ์ราคาค่อนข้างแพง คิดไปคิดมาเผลอๆค่า Software แพงกว่าค่า Hardware เสียอีก
จากกระแสดังกล่าวทาํ ให้คนเริ่มมองหาสิ่งที่จะมาแทน Windows และ MS Office จนถึงขนาดที่ประเทศจีนมีการพฒั นาระบบปฏบิ ัติการ ลินุกซ์
เป็นระบบปฏิบัติการแห่งชาติ เพื่อที่จะมาแทนที่ระบบปฏิบัติการเดิมคือ Windows เลยทีเดียว
สำหรับประเทศไทยก็ไม่น้อยหน้าใคร เรามีการพัฒนาลินุกซ ์ ทะเล (TLE) ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการตัวหนึ่ง โดยที่ศูนย์เทคโนโลยี
อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือ NECTEC ให้การสนับสนุน
นอกจากนี้เราก็มีการพัฒนาโปรแกรมสำหรับใช้ในสำนักงานเช่นเดียวกับ MS Office ก็คือ “ปลาดาวออฟฟิศ” ซึ่ง บริษัท ซัน
ไมโครซิสเต็มส์ (ประเทศไทย) ให้การสนับสนุน ซึ่งต่างก็ได้รับการตอบรับจากผู้ใช้เป็นจำนวนมาก รวมถึงองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน
ด้วยปริมาณผู้ใช้งานจำนวนมาก จำนวนเงินสำหรับค่าลิขสิทธิ์จึงสูงตามไปด้วย เราลองมาวิเคราะห์องค์กรสักองค์กรหนึ่งของภาครัฐ
โดยมีโจทย์อยู่ที่ถ้าองค์กรนี้จะหันมาใช้ “ปลาดาวออฟฟิศ” จะได้ประโยชน์และเสียประโยชน์อะไรบ้าง
มารู้จักปลาดาวออฟฟิศกันหน่อย
ก่อนอื่นก็คงต้องมาทำความรู้จักกับเจ้าปลาดาวออฟฟิศกันสักหน่อย ว่ามีที่มาและที่ไปอย่างไร ก่อนที่จะมาเป็นปลาดาวออฟฟิศ
ปลาดาวออฟฟิศ คือ ชุดโปรแกรมสำนักงาน ที่รองรับการทำงานเอกสารภาษาไทยได้เป็นอย่างดี โดยมีพื้นฐานมาจาก OpenOffice.org
โดยได้ปรับปรุงเพิ่มเติมในส่วนของการใช้งานกับ เอกสารภาษาไทย ให้ใช้งานได้ดียิ่งขึ้น สนับสนุนการพัฒนาโดยบริษัท ซัน ไมโครซิสเต็มส์
(ประเทศไทย) โดยในส่วน ของ ซัน ประเทศไทย เองก็มีโปรแกรมชุดสำนักงาน ในชื่อว่า “StarOffice”
แต่ไม่ได้รับการสนใจเท่าที่ควรจากผู้ใช้ คงมีแต่เพียงผู้ที่ใช้เครื่องของ ซัน เท่านั้น Star Office ตกอยู่ภายใต้ร่มเงาความสำเร็จของ MS Office
มาตลอด จนกระทั่ง กระแสการเอาจริงเอาจังการละเมิดลิขสิทธิ์เพิ่มมากขึ้น เริ่มมีการมองหาโปรแกรมสำนักงานที่จะมาแทนที่ MS Office
และทาง บริษัท ซัน ไมโครซิสเต็มส์ (ประเทศไทย) ก็เป็นเสือปืนไว ร่วมมือกับศูนย์เทคโนโลยี อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือ
NECTEC ในการพัฒนาปลาดาวออฟฟิศ เพื่อรองรับการใช้งานจำนวนจากองค์กรต่างๆ สำหรับโครงการนี้ ซัน ประเทศไทย ได้ว่าจ้าง
คุณนุสรณ์ พจน์พิพัฒน์ โปรแกรมเมอร์มือหนึ่งซึ่งเคยเป็นแกนหลักในการพัฒนา MS Office ซึ่งต่อมาได้มาเปิดบริษัทพัฒนาภาษาไทย บน
Window CE ให้มาพัฒนาต่อยอดจาก OpenOffice.org ในภาคภาษาไทยในชื่อที่ว่า ปลาดาวออฟฟิศ โดยบริษัท ซัน ประเทศไทย
ให้การสนับสนุนทางด้านเงินทุนในการพัฒนา ขอพูดถึงคุณนุสรณ์หน่อยเถอะนะครับ ผมว่าเป็นยอดคนจริงๆ ใครจะนึกว่านักดนตรีวงร็อก
ในนาม ดิ โอฬารโปรเจ็กต์ จะมาเป็นโปรแกรมเมอร์มือหนึ่งระดับประเทศอย่างนี้ สุดยอดจริงๆ
ซัน ประเทศไทย เองพยายามออกมาปฏิเสธว่า ปลาดาวออฟฟิศ เป็นผลิตภัณฑ์คนละตัวกับ StarOffice
แต่แปลกที่คนส่วนใหญ่กลับเข้าใจว่า ปลาดาวออฟฟิศ ถูกพัฒนามาจาก StarOffice แถมตั้งชื่อภาษาไทยว่าปลาดาวออฟฟิศ
ซึ่งไปสอดคล้องกับคำว่า Star เสียอีก แต่ ซัน ประเทศไทย บอกว่าคำว่าปลาดาว จริงๆมาจาก สัญลักษณ์ที่แทนโปรแกรม 5 ตัว
เหมือนปลาดาวที่มี 5 ขา โดยที่แต่ละขาแทนแต่ละโปรแกรมที่ประกอบกันเป็น ปลาดาวออฟฟิศ ก็ว่ากันไป ผมยังอดสงสัยไม่ได้ว่า แล้ว
ถ้ามีการเพิ่มโปรแกรมขึ้นมาอีกสักตัว ซึ่งมีข่าวแว่วมา กำลังพัฒนาอยู่ จะยังเรียกว่าปลาดาวอีกหรือเปล่า เพราะมีขา เกิน 5 ขา(ฮา)...
ปัจจุบัน ปลาดาวออฟฟิศ สามารถใช้ได้กับ 3 ระบบปฏิบัติการ คือ Solaris, Linux, Windows
และสามารถใช้งานเอกสารที่มาจากต่างระบบกันได้ อย่างไม่มีปัญหา หรือที่เรียกกันว่า (cross-platform) ทีนี้เรามาลองดู คุณสมบัติคร่าวๆ
ของ “ปลาดาว ออฟฟิศ 1.0” รุ่นที่เปิดให้ Download ใช้ฟรีในปัจจุบันนี้ กันสักหน่อย ว่าประกอบด้วยคุณสมบัติอะไรบ้าง
1.โปรแกรมในการประมวลผลคำ (Word Processing) ในชื่อ Writer
ทำหน้าที่ เหมือนกับ Microsoft Word
2.โปรแกรมทางด้านตารางการคำนวณ (Spreadsheet) ในชื่อ Calc
ทำหน้าที่ เหมือนกับ Microsoft Excel
3.โปรแกรมการนำเสนองาน (Presentation) ในชื่อ Impress
ทำหน้าที่ เหมือนกับ Microsoft PowerPoint
4.โปรแกรมการวาดภาพแบบเวกเตอร  (Drawing) ในชื่อ Draw
ทำหน้าที่ สร้างกราฟฟิค และสามารถ Import ออกมาเป็น file .GIF หรือ . JPGเพื่อนำไปใช้ในงานอื่นๆต่อไปได้
5.โปรแกรมพิมพ์สมการทางคณิตศาสตร์ (Equation) ในชื่อ Math
ทำหน้าที่ในการพิมพ์เอกสารที่มีการกรอกสูตรทางคณิตศาสตร์
จะเห็นได้ว่าสิ่งที่ขาดหายไปเมื่อเทียบกับ MS Office คือแอปพลิเคชั่นด้านระบบฐานข้อมูล
เนื่องจากระบบฐานข้อมูลเป็นระบบที่หน่วยงานต่างๆมีความต้องการใช้งานมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหน่วยงานราชการ
เพื่อจัดการฐานข้อมูลที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก แต่ได้ยินแว่วว่าทาง ซันประเทศไทย กำลังเร่งพัฒนาแอปพลิเคชั่นด้านนี้อยู่ คงได้เห็นกันในไม่ช้า
จากคุณสมบัติที่มีอยู่ก็มีความสามารถพอที่จะใช้ทำงานในสำนักงานทั่วๆไปได้แล้ว จากการทดลองใช้ในเบื้องต้น
ก็พบว่ามีคุณสมบัติเพียงพอต่อการใช้งานตามปกติ จึงเป็นที่สนใจของหน่วยงานหลายหน่วยงาน โดยมี ศูนย์เทคโนโลยี
อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือ NECTEC เป็นหัวหอกในการทดลองใช้ และรับประกันคุณภาพ ทำให้ปลาดาวออฟฟิศ
เป็นที่สนใจขึ้นมาทันที และหนึ่งในองค์กรที่สนใจปลาดาวออฟฟิศ ก็มีกรุงเทพมหานคร หรือกทม. ของท่านผู้ว่า สมัคร รวมอยู่ด้วย
ไม่เพียงแต่สนใจทดลองใช้เพียงเท่านั้น แต่มีโครงการที่จะนำมาทดแทน โปรแกรมสำนักงานตัวเดิมเลยทีเดียว
ถ้าผลการทดลองใช้เป็นที่น่าพอใจ ลองมาทำความรู้จักกับกทม.กันสักหน่อย เพื่อจะวิเคระห์ถึงผลได้และผลเสีย ที่กทม.จะได้
จากการนำปลาดาวออฟฟิศไปใช 
กรุงเทพมหานครกับปลาดาวออฟฟิศ
ก่อนอื่นผมก็คงต้องแนะนำให้รู้จักกับกรงุ เทพมหานครเสยี กอ่ น เพอื่ ให้ทราบที่มาที่ไปขององค์กรนี้
ว่ามีที่มาและที่ไปอย่างไรกรุงเทพมหานครเป็นองค์กรบริหารขนาดใหญ่ ซึ่งมีฐานะเป็นการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ
และมีฐานะเป็นนิติบุคคล ทั้งนี้ เพื่อความสะดวกในการบริหาร การทำนิติกรรม การลงทุน การเป็นเจ้าของทรัพย์สิน และการเป็นโจทก์จำเลย
ด้วยลักษณะการปกครองพอจะเทียบได้กับการปกครองแบบมหานคร (Metropolitan Government)
กรุงเทพมหานครจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร เนื่องจากกรุงเทพมหานครเป็นเมืองหลวงของประเทศ
จึงย่อมเป็นศูนย์กลางความเจริญในทุกๆด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม
กรุงเทพมหานครมีการแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 50 เขตปกครอง ครอบคลุมพื้นที่รวมทั้งหมดประมาณ 1,564 ตารางกิโลเมตร
ประกอบด้วยจำนวนประชากรประมาณ 5,666,193 คน กรุงเทพมหานครมีข้าราชการและลูกจ้าง 80,597 คน (ข้อมูล ณ. เดือนมกราคม 2544 :
กองกลางเจ้าหน้าที่ สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร)
จะเห็นได้ว่ากรุงเทพมหานครเป็นองค์กรที่ค่อนข้างใหญ่โตองค์กรหนึ่ง ด้วยจำนวนบุคลากรจำนวนมาก
การทำธุระกรรมในแต่ละวันมีมากมาย จึงจำเป็นอยู่เองที่กรุงเทพมหานคร จะมีปริมาณการใช้ โปรแกรมคอมพิวเตอร์
ที่เกี่ยวกับชุดสำนักงานจำนวนมาก การที่กรุงเทพมหานครจะเลือกใช้โปรแกรมใดสักหนึ่งตัว นั้นย่อมหมายถึงปริมาณจำนวนมาก
ทั้งในด้านจำนวนผลติ ภัณฑ์ และมูลค่า่ ของผลิตภัณฑ์ จงึ จาํ เปน็ ทกี่ รงุ เทพมหานครจะตอ้ งพจิ ารณาอยา่ งรอบคอบ
ทั้งในแง่ประสิทธิภาพการทำงาน งบประมาณ ที่เหมาะสม และผลกระทบที่จะเกิดกับผู้ใช้ในอนาคต
ทำไมต้องเป็นปลาดาว
เป็นคำถามที่ผมตั้งขึ้นมาเองว่าทำไมกรุงเทพมหานครจึงต้องเลือกใช้ปลาดาว อะไรเป็นปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของกรุงเทพมหานคร
ผมลองวิเคราะห์แล้วสามารถแบ่งปัจจัยต่างๆ ได้ 4 ปัจจัย ดังนี้
สนองนโยบายรัฐบาล
การประหยัดงบประมาณ
ความน่าเชื่อถือของโปรแกรม
ประสิทธิภาพของโปรแกรมปลาดาว
ปัจจัยแรก สนองนโยบายรัฐบาล
กรุงเทพมหานครเป็นองค์กรหนึ่งของภาครัฐ จึงจำเป็นที่จะต้องสนองตอบต่อนโยบายของรัฐบาลในการขจัดซอฟท์แวร์ที่ละเมิดลิขสิทธิ์
ในขณะที่รัฐบาลทำการจับกุม ผู้ละเมิดลิขสิทธิ์อย่างจริงจัง
หน่วยงานต่างๆของภาครัฐก็ต้องเป็นตัวอย่างอันดีในการใช้ซอฟท์แวร์ที่ถูกต้องตามกฏหมาย
เนื่องจากกรุงเทพมหานครก็เป็นองค์กรหนึ่งในภาครัฐ จึงต้องมีมาตรการในการจัดการกำจัดโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ละเมิดลิขสิทธิ์
และจัดหาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มีลิขสิทธิ์ถูกต้องตามกฏหมายมาให้หน่วยงานในสังกัดใช้
คงน่าเกลียดพิลึกที่ตำรวจไล่จับผู้ละเมิดลิขสิทธิ์ แต่คนภาครัฐกลับละเมิดลิขสิทธิ์กันเสียเอง แถมจำนวนมากเสียด้วย พูดง่ายๆว่า
เป็นไฟล์ทบังคับสำหรับกรุงเทพมหานครและหน่วยงานอื่นๆของภาครัฐ
ปัจจัยที่สอง การประหยัดงบประมาณ
ปัจจัยนี้แหละครับเป็นปัจจัยหลักที่ทุกหน่วยงานของภาครัฐให้ความสนใจมากที่สุด รวมทั้งกรุงเทพมหานครด้วย
เป็นปัจจัยที่ต้องพิจารณากันมากที่สุด ลองมาดูซิว่ากรุงเทพมหานครจะประหยัดงบประมาณไปได้จำนวนเท่าไหร่
ถ้ากรุงเทพมหานครเปลี่ยนมาใช้ปลาดาวออฟฟิศ กรุงเทพมหานคร มีจำนวนสำนักงานเขต 50 สำนักงานเขต สำนัก 14 สำนัก และ
สำนักงาน 3 สำนักงาน มีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ไม่ได้เชื่อมต่อกับระบบเครือข่าย คือ
เป็นเครื่องที่ใช้ในงานสำนักงานทั่วไป แบ่งประเภทอย่างหยาบๆได้ดังนี้
โรงเรียนต่างๆในกรุงเทพมหานคร ส่วนที่ให้การบริการประชาชน
จำนวนเครื่อง 2,666 2,253
ราคา ชุดโปรแกรมสำนักงาน/ชุด 2,000 20,000
ยอดรวม 5,332,000 45,060,000
(ข้อมูล กองบริการระบบคอมพิวเตอร์ สำนักนโยบายและแผนกรุงเทพมหานคร )
ยอดรวมของทั้ง 2 ส่วน รวมแลว้ เป็นเงนิ 50,392,000 บาท อ่านว่าหา้ สิบลา้ นบาทครับ ผมว่าเป็นจำนวนเงินไม่น้อยเลยนะครับ
(เงินจำนวนนี้อาจจะคลาดเคลื่อนไปบา้ ง เนื่องจากเป็นการประมาณการ) สาํ หรับกรุงเทพมหานคร
จะตอ้ งจา่ ยโดยไมไ่ ดอ้ ะไรเพิ่มขนึ้ มาเลย ทั้งในแง่ตัวผลิตภัณฑ ์ และประสิทธภิ าพของงาน แตเ่ ปน็ เงนิ ทจี่ า่ ยเพอื่ ซอื้ ความถกู ตอ้ ง
ความเป็นแบบอย่างที่ดีในฐานะหน่วยงานของรัฐ ถ้าเป็นสมัยที่เศรษฐกิจประเทศไทยยังไม่ฟองสบู่แตก
จำนวนเงินขนาดนี้ก็คงยังพอพิจารณากันได้ แต่ในขณะนี้ขณะที่ประเทศไทยหน้าแห้งกระเป๋าแฟบ
เงินจำนวนขนาดนบี้ อกได้เลยครบั ว่าลาํ บาก นี่ขนาดกรุงเทพมหานครแห่งเดยี วนะครับ
ถ้ารวมหน่วยงานภาครัฐทั้งหมดคงเป็นพันล้านแน่นอน เมื่อ ซัน ประเทศไทยมีข้อเสนอหรือทางเลือกใหม่ที่น่าสนใจ
แถมมีศูนย์เทคโนโลยี อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือ NECTEC ให้การสนับสนุนโดยการนำ ปลาดาวออฟฟิศ
ไปทดลองใช้นำร่องไปก่อนหน้าแล้ว กรุงเทพมหานครแทบไม่ต้องคิดอะไรมาก เพราะอย่างน้อย
ก็มีหน่วยงานนำไปทดลองใช้ก่อนแถมเป็น เน็คเท็ค ซะอีก ซึ่งกรุงเทพมหานครก็รู้อยู่แล้วว่าเน็คเท็คก็คงต้องวิเคราะห์
มาก่อนหน้าแล้วก่อนที่จะนำปลาดาวมาทดลองใช้ กรุงเทพมหานครจึงไม่รีรอที่จะกระโดดเข้ามาขอร่วมทำการทดลองใช้ปลาดาว
อย่างน้อยก็ไม่มีอะไรที่จะเสียหาย มีแต่ได้กับได้ อาจเป็นกลุ่มแรกๆที่เริ่มใช้ก่อน หรือที่เรียกกันว่า First Mover
มีชื่ออีกในฐานะแบบอย่างที่ดีสำหรับหน่วยงานภาครัฐที่สนับสนุน การมีการใช้โปรแกรมที่ถูกกฏหมายลิขสิทธ์ภายในหน่วยงาน
แถมเด้งที่สองสำคัญเสียด้วย ไม่ต้องจ่ายสักบาท ของฟรีใครก็ชอบครับ แต่จริงๆแล้วของฟรีไม่มีในโลกครับ
เพียงแต่ว่าจะจ่ายกันในรูปแบบไหนเทา่ นั้นเอง แต่เอาหล่ะก็ตอนนี้มันฟรี ก็เอาไว้ก่อน แล้วเราจะมาวิเคราะห์กันทีหลัง
ปัจจัยที่ 3 ความน่าเชื่อถือของตัวโปรแกรม
ถามว่าอะไรเป็นองค์ประกอบที่ทำให้ปลาดาวมีความน่าเชื่อถือ หรือมีความน่าสนใจ สำหรับหน่วยงานในการนำไปทดลองใช้
ผมลองวิเคราะห์ได้ดังนี้
บริษัทที่ให้การสนับสนุนในการพัฒนา ปลาดาวออฟฟิศ ซึ่งก็คือ บริษัท ซัน ไมโครซิสเต็มส์ (ประเทศไทย) นั้นเอง
หน่วยงานที่ร่วมในโครงการนี้ และเป็นหน่วยงานจะเรียกได้ว่าเป็นหน่วยงานนำร่อง ในการทดลองใช้โปรแกรมปลาดาวออฟฟิศ
ซึ่งก็คือ ศูนย์เทคโนโลยี อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือ NEC
ทีมงานที่พัฒนา ปลาดาวออฟฟิศ เป็นทีมงานที่เคยพัฒนาไมโครซอฟท์ ออฟฟิศ มาก่อน เมื่อมาพัฒนาปลาดาวออฟฟิศ
มุมมองต่างๆน่าจะสอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้ได้ไม่ยิ่งหย่อนกว่าไมโครซอฟท์ออฟฟิศ
องค์ประกอบเหล่านี้ ต่างสอดคล้องต้องกันอย่างเหมาะเจาะ บริษัท ซัน ประเทศไทย
เองก็มีชื่อเสียงที่ดีสำหรับหน่วยงานราชการหลายหน่วยงาน แม้กระทั่ง ธปท. กรมบัญชีกลาง ก็เคยใช้เครื่องของ ซัน ในบางระบบ
ประกอบกับเป็นบริษัทใหญ่ และมั่นคง ประกอบกับมีเงาทะมึนของเน็คเท็ค แผ่ปกคลุม ปลาดาวออฟฟิศ
จึงเสริมให้ปลาดาวออฟฟิศดูมีระดับขึ้นมาทันที องค์ประกอบเหล่านี้เอง น่าจะทำให้กรุงเทพมหานครสนใจปลาดาวมากยิ่งขึ้น
ปัจจัยตัวสุดท้าย ประสิทธิภาพของโปรแกรมปลาดาวเอง
ปัจจัยตัวนี้ที่จริงแล้วควรจะเป็นตัวที่สำคัญที่สุด แต่ในความเป็นจริงแล้วมักถูกพิจารณาเป็นอันดับท้ายๆ(ฮา)
เพราะเราพูดกันเรื่องราคาครับ ราคาต้องมาก่อน ในหน่วยงานรัฐบาลอะไรก็แล้วแต่ต้องถูกที่สุด ดังนั้นเมื่อผ่านขั้นตอนต่างๆมาแล้ว
ทีนี้ก็เป็นเรื่องของประสิทธิภาพ เนื่องจากได้ทีมพัฒนาที่มีประสบการณ์ระดับสุดยอดมาก่อน
ปลาดาวจึงตอบสนองความต้องการหลักๆของผู้ใช้ในเบื้องต้นได้อย่างครบถ้วน สามารถทำงานได้ดีพอสมควร
ตัวโปรแกรมสามารถเปดิ แฟ้มข้อมูลจาก ไมโครซอฟท ์ ออฟฟศิ ได้ด้วย ดงั นนั้ ผทู้ เี่ คยใชไ้ มโครซอฟท ์ ออฟฟศิ
สามารถนำแฟ้มข้อมูลเดิมมาทำงานบนปลาดาว ออฟฟิศได้ทันที แถมหน้าตา เมนู ก็มีกลิ่นอาย ของไมโครซอฟท ์ ออฟฟศิ
จางๆ ไม่สร้างความขัดแย้งกับความเคยชินเดิมๆสักเท่าใดนัก ด้วยประสิทธิภาพที่มีดีพอตัว ไม่ขี้ริ้ว ขี้เหร่ จนเกินไปนัก
จึงเป็นปัจจัยอีกตัวที่ช่วยในการตัดสินใจของกรุงเทพมหานคร
วิเคราะห์จุดแข็งจุดอ่อน ของโปรแกรมปลาดาว ออฟฟิศ
ผมจะลองวิเคราะห์ถึงส่วนที่ผมเห็นว่าเป็นจุดแข็ง และจุดอ่อน ของโปรแกรมปลาดาวออฟฟิศ
ต้องออกตัวก่อนนะครับว่าผมมิได้มีส่วนได้ส่วนเสียใดๆทั้งสิ้น ต่อการวิเคราะห์ในครั้งนี้เป็นเพียงหนึ่งความคิดจากผมเท่านั้น
เพราะตามปกติเรามักไม่ชอบใครที่มีความคิดที่แตกต่างจากเรามากนัก แต่บางทีความคิดที่แตกต่าง หรือการมองต่างมุม
ทำให้มนุษย์เรามีนวัตกรรม(Innovation)เกิดขึ้นในโลกนี้อย่างต่อเนื่อง ผมวิเคราะห์โดยผมมองว่าโปรแกรมปลาดาว
เป็นผลิตภัณฑ์ตัวหนึ่งที่ผมให้ความสนใจ ถ้าผมจะนำมาใช้ผมต้องมองถึงอะไรบ้าง ที่จะให้ประโยชน์กับผมมากที่สุด
ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
จุดแข็ง (Strengths)
เป็น โปรแกรมที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย
ความน่าเชื่อถือของตัวโปรแกรม
ประสิทธิภาพของโปรแกรม
มีการประชาสัมพันธ์ ที่เป็นระบบ และต่อเนื่อง
จะเห็นได้ว่า ปัจจัยที่ประกอบกันเป็นจุดแข็ง ก็คือปัจจัยที่ช่วยในการตัดสินใจของกรุงเทพมหานครในการเลือกใช้โปรแกรม
ปลาดาวออฟฟิศ และเป็นสิ่งที่เราได้กล่าวกันไปแล้วก่อนหน้านี้แล้ว ผมจะไม่กล่าวซ้ำอีก
ส่วนที่เรายังไม่ได้กล่าวถึงคือการประชาสัมพันธ์ของตัวปลาดาว ผมว่าการประชาสัมพันธ์ทำได้ค่อนข้างดี เป็นระบบ
และมีความต่อเนื่อง อาจจะเป็นด้วยกระแสชาตินิยมก็เป็นส่วนช่วยผลักดันตัวโปรแกรมปลาดาว
แต่คงปฏิเสธไม่ได้ถึงขา่ วคราวที่เกี่ยวขอ้ งกับตัวปลาดาวที่มีออกมาเป็นระยะๆ และต่อเนื่อง
มีการเปิดตัวอย่างเป็นทางการโดยมีผู้เข้าร่วมงานมากพอสมควร บ่งบอกให้เห็นถึงการประชาสัมพันธ์ที่ดี
บางคนอาจจะมองว่าการประชาสัมพันธ์ไม่น่าจะจัดให้เป็นจุดแข็ง
แต่ผมกลับมองว่าในยุคนี้การประชาสัมพันธ์ถือเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างความสำเร็จให้กับสินค้า
เราเห็นมาหลายครั้งที่สินค้าบางตัวคุณภาพดีแสนดี แต่ขาดการประชาสัมพันธ์สุดท้ายไปไม่รอด
ผมถือว่าการประชาสัมพันธ์ที่ดีเป็นส่วนช่วยให้ผู้ใช้สามารถทราบข้อมูลข่าวสาร ความต่อเนื่อง และสิ่งต่างๆจากตัวโปรแกรม
ช่วยสร้างความมั่นใจ ให้กับผู้ใช้ได้เป็นอย่างสูง และคงปฏิเสธไม่ไดว้ ่า เราๆทา่ นบางสว่ นก็เคยเป็นเหยื่อของการโฆษณามาแล้ว
อย่างไรก็ตามผมมองว่าการประชาสัมพันธ์ที่ดีเป็นจุดแข็งของโปรแกรมปลาดาวออฟฟิศ
จุดอ่อน (Weaknesses)
ความชัดเจนของโปรแกรมปลาดาว
ปัญหาความต่อเนื่องในการพัฒนาโปรแกรม
ผู้รับผดิ ชอบในการดแู ลหลังการใช  (Maintenance)
ความชัดเจนของโปรแกรมปลาดาว
ความชัดเจนที่ผมกล่าวถึงผมกำลังมองถึง
1.ความชัดเจนในด้านวัตถุประสงค์
2.ความชัดเจนในด้านเป้าหมาย
3.ความชัดเจนในความต่อเนื่องของผู้สนับสนุน ปลาดาว
4.ความชัดเจนจากภาครัฐบาล
ซึ่งสิ่งต่างๆเหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนาต่อไปในอนาคต
เราไม่ทราบวัตถุประสงค์ที่แท้จริงหรือวัตถุประสงค์หลักของผู้ให้การสนับสนุน มีเป้าหมายอย่างไร
เป้าหมายที่แท้จริงคืออะไร งบประมาณในการสนับสนุนในครั้งต่อไป ซัน ประเทศไทย จะยังคงสนับสนุนอีกหรือเปล่า ถ้า
ซันไม่ให้การสนับสนุน แล้วใครจะเข้ามารับผิดชอบ ส่วนนี้ รัฐบาลเองได้ส่งสัญญานอะไรที่ชัดเจนออกมาบ้างหรือไม่
เพราะถ้าว่าไปแล้ว ซัน ประเทศไทย ก็ไม่ใช่บริษัทของคนไทย ซันจะได้ประโยชน์อะไรในการสนับสนุน
โปรแกรมปลาดาวฟรีๆ ในทางเศรษฐศาสตร์แล้ว ไม่มีของฟรีในโลกนี้ ของทุกสิ่งล้วนมีต้นทุน
เพียงแต่ว่าใครจะเป็นผู้แบกรับภาระต้นทุนนั้น ขอนอกเรื่องสักนิด ผมได้ข่าวว่า Hotmail
ที่พวกเราหลายคนใช้ฟรีกันมาตลอด เริ่มมีเงื่อนไขในการใช้มากขึ้น เพื่อเป็นการบีบให้เราเสียเงิน
เพื่อแลกกับความสะดวกในการใช้ ผมกำลังจะบอกว่า ธุรกิจก็คือธุรกิจ สักวันมันก็จะแสดงวัตถุประสงค์ที่แท้จริงออกมาเอง
อยู่ที่กลยุทธของแต่ละบริษัทเท่านั้นเอง ผมไม่ได้มองโลกในแง่ร้าย อาจมีบางคนว่ามีของฟรีให้ใช้ ยังวิเคราะห์นู้น
วิเคราะห์นี้ เป็นการชักใบให้เรือเสีย ก็ว่ากันไป ผมเพียงแต่พยายามมองอนาคตข้างหน้าด้วยเหตุและผลของความเป็นไปได้
เพราะความชัดเจนในเรื่องเหล่านี้ ช่วยทำให้เราตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง
ปัญหาความต่อเนื่องในการพัฒนาโปรแกรม
ข้อนี้เป็นความต่อเนื่องมาจากข้อที่แล้วในเรื่องความชัดเจนของผู้สนับสนุน เพราะการพัฒนาโปรแกรมในครั้งนี้
ซันได้ว่าจ้างคุณนุสรณ์ พจน์พิพัฒน์ และทีมงานเป็นผู้พัฒนา โปรแกรมปลาดาว ออฟฟิศ
เวลานี้ยังต้องพัฒนาอีกพอสมควร เป็นการพัฒนาที่ต่อเนื่อง ถามว่าใครจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย ในส่วนนี้
ผมคิดว่าคุณนุสรณ์ก็รักชาติเหมือนพวกเราทุกคน แต่คงไม่สะดวกแน่ๆถ้าจะให้พัฒนาโปรแกรมให้ฟรีๆ มีคำถามว่า ถ้า ซัน
ไม่สนับสนุนต่อ เพราะคิดว่าเป็นคนเริ่มให้แล้ว แต่ต้องการให้โปรแกรมเมอร์อิสระพัฒนากันเอง
เป็นการต่อยอดทางเทคโนโลยี เพราะเป็น Open Source
ผมก็ไม่แน่ใจว่าในเมืองไทยเคยมีโปรแกรมอะไรที่พัฒนาด้วยรูปแบบนี้ และประสิทธิภาพเป็นอย่างไร
โปรแกรมที่ดีต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว
โดยเฉพาะเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีวงจรชีวิต (Life Cycle) ที่ค่อนข้างสั้นอันเนื่องมาจากการแข่งขันของกระแสโลก
เราจะแน่ใจว่าได้อย่างไรว่าบรรดาโปรแกรมเมอร์อิสระทั้งหลาย จะมีเวลาทุ่มเทได้ขนาดนั้น
และอะไรจะเป็นแรงจูงใจในการพัฒนาของพวกเขาเหล่านั้น
ปัญหาผู้ดูแลหลังการใช้
ผู้ใช้งานทุกคนคงทราบดีว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นหลังการใช้มีแน่นอน จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับตัวสินค้าของแต่ละบริษัท
บริษัทที่มีมาตรฐาน ต่างมีบริการหลังการขายด้วยกันทั้งสิ้น ถามว่าโปรแกรมปลาดาว จะมีปัญหาในการใช้หรือไม่
ผมตอบได้เลยว่ามีแน่นอน จะมากหรือน้อยเท่านั้นเอง แล้วใครจะเป็นผู้รับผิดชอบในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นเหล่านั้น ณ
ตอนนี้ยังพอมีทีมงานที่พัฒนาโปรแกรม และ บ. ซัน ประเทศไทย สนับสนุนอยู่ แต่ต่อไปในอนาคตล่ะครับ ถ้า ซัน
ถอนตัวออกไป แล้วเกิด บั๊ก ตัวใหญ่สักตัว ใครจะเป็นผู้แก้ไขบั๊กเหล่านั้น ระยะเวลาในการแก้ไข
แล้วความเสียหายที่เกิดขึ้นจากบั๊กเหล่านั้น ใครจะรับผิดชอบ แม้แต่ขนาด ไมโครซอฟท์ ออฟฟิศ
ที่มีทีมงานพัฒนามากมาย มีความพร้อมในด้านเทคโนโลยี แรงจูงใจในการทำงานสูง มีเวลาเต็มที่ ยังมี บั๊ก
ให้เห็นกันบ่อยๆ ต้องมีการแก้ไขกันหลายเวอร์ชั่น เพื่อให้สมบูรณ์ที่สุด เพื่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้ใช้น้อยที่สุด
ในทางกลับกัน โปรแกรมปลาดาว ที่มีปัจจัยตรงกันข้าม กับ ไมโครซอฟท์ ออฟฟิศ จะมีแนวทางในการแก้ปัญหานี้อย่างไร
น่าคิดนะครับ ถ้าสมมติว่ามีคนนำรถมาให้ใช้ฟรีๆเลยครับ เปน็ รถยหี่ อ้ ใหมย่ งั ไมม่ ใี นตลาด ทำมาเพื่อแจก
มีข้อแม้ว่าไม่มีโรงงานสนับสนุนเรื่องอะไหล่และการบริการหลังการขาย ผู้ใช้ต้องช่วยเหลือตัวเอง
ตอนรถใหม่ๆก็ไม่มีอะไรหรอกครับ ใช้ไปสักระยะเครื่องเริ่มรวน ถ้าเกิดไปเสียในระหว่างเดินทางไกล หรือจะไปธุระสำคัญ
จะทำอย่างไร ผมคิดเล่นๆนะครับ ใครที่คิดว่าไม่สนใจก็ไม่เป็นไร แล้วแต่ครับ
บทสรุป
สรรพสิ่งบนโลกมนุษย์นี้ล้วนมี 2 ด้านเสมอ ทั้งด้านบวก และ ด้านลบ เพียงแต่อยู่ที่ว่าเราจะเรียนรู้ที่จะจัดการกับทั้ง 2
ด้านนั้นอย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุด คงปฏิเสธไม่ได้ว่า โปรแกรมปลาดาวเป็นทางเลือกใหม่ ที่เข้าได้ถูกจังหวะและเวลาที่เหมาะสม
ด้วยเหตุและปัจจัยต่างๆดังที่กล่าวข้างต้น ผมไม่แน่ใจว่าใช้คาํ ว่าทางเลือกจะเหมาะสมหรือไม ่ เพราะลองเหลียวมองไปรอบตัว
ก็ไม่เห็นมีตัวเลือกอื่น คงมิต้องไปพูดถึงโปรแกรมตัวอื่นๆ เช่น Easy Office, Star Office......:ซึ่งโปรแกรมเหล่านี้
ต่างก็มีการพัฒนามาพอสมควร แต่มีปัญหาเรื่องความต้องการในการใช้ค่อนข้างน้อย จึงดูเหมือนเงียบๆไป จึงทำให้ถูกมองข้ามไป
และสำหรับในสถานการณ์ที่กระแสการต่อต้านการละเมิดลิขสิทธิ์มีสูงเช่นนี้ โปรแกรมปลาดาว
จึงเป็นทางออกที่ดีที่สุดสำหรับในการแก้ปัญหา โดยเฉพาะหน่วยงานในภาครัฐ ผมไม่แน่ใจว่า
ในภาคเอกชนจะมีการตื่นตัวนำปลาดาวไปใช้มากน้อยแค่ไหน สำหรับกรุงเทพมหานคร
การรณรงค์ให้มีการใช้โปรแกรมปลาดาวมาใช้ในการปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ อาจเป็นการแก้ปัญหาที่ได้ผลในระยะสั้น
แต่ในระยะยาวไม่ควรมองข้ามถึงข้อจำกัดหรือจุดอ่อนของ โปรแกรมปลาดาว เพื่อที่จะนำไปกำหนดกลยุทธ หาแนวทาง ในการดำเนินการ
ที่จะรองรับถึงปัญหาที่จะเกิดในอนาคต การกำหนดเป้าหมาย ทั้งระยะสั้น และระยะยาว สิ่งต่างๆเหล่านี้ ล้วนเป็นการบ้านข้อใหญ่
ที่รอกรุงเทพมหานครมาจัดการ การดำเนินการทุกอย่าง ต่างก็มิอาจหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้
เพียงแต่ว่าเราจะบริหารความเสี่ยงนั้นอย่างไร เพื่อที่จะนำองค์กรไปสู่ความสำเร็จ
ปลาดาว กู้ชาติ จริงหรือไม่ คงมิใช่ประเด็นที่เราจะพูดถึงกัน ประเด็นที่น่าจับตามองคือทำอย่างไร ที่จะไม่ต้องเสียชาติ
แล้วรอให้เกิดวีรบุรุษขึ้นมากู้ชาติอยู่ร่ำไป ในแง่ทางธุรกิจ เราคงมิอาจไปสู่กับชาติมหาอำนาจของโลกได้ แผนการทางธุรกิจ
การดำเนินการทางธุรกิจ สิ่งต่างๆเหล่านี้ เรายังห่างไกลจากชาติเหล่านั้นหลายสิบปี เราตกอยู่อยู่ในสถานะผู้ตามที่ดีมาตลอด
เป็นผู้ใช้ที่ซื่อสัตย์ มิเคยคิดที่จะเปลี่ยนจากสถานะมาเป็นผู้พัฒนาเอง ประเทศที่มีความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจ
ล้วนให้ความสำคัญกับการวิจัยและการพัฒนา (Research & Development : R & D) ส่วนในประเทศไทย
เราให้ความสำคัญในส่วนนี้น้อยมาก มีงบประมาณในส่วนนี้ค่อนข้างจำกัด ทำให้เราขาดนักวิจัยและพัฒนา
จนทำให้เราซึมซับที่จะเป็นผู้ใช้ที่ซื่อสัตย์ มากกว่าที่จะคิดพัฒนาขึ้นใช้เอง ทำให้ผมอดเป็นห่วง โปรแกรมปลาดาวออฟฟิศ ไม่ได้
ด้วยเกรงว่าจะขาดคนที่พัฒนาอย่างต่อเนื่องและจริงจัง เรามุ่งเน้นในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า มากกว่าวางแผนระยะยาว โปรแกรมปลาดาว
ออฟฟิศ จะเป็นบทพิสูจน์ อีกครั้งสำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องในประเทศไทย ว่าแน่วแน่และจริงใจมากน้อยแค่ไหน ผมขอย้ำอีกครั้งว่า
ของฟรีไม่มีในโลกครับ ดอกเบี้ยที่ว่า 0 % จริงแล้วก็มิได้ ศูนย์เปอร์เซ็นต์จริง เป็นเพียงกลยุทธทางการตลาด
บริษัททุกบริษัทใช้ตำราเล่มเดียวกันหมดครับ การทำกำไรสูงสุด (Maximize Profit) ให้กับองค์กร เพียงแต่ว่าจะมาในรูปแบบไหน เท่านั้นเอง
โปรแกรมปลาดาว ควรจะเป็นโปรแกรมที่มีแนวคิดมาจากคนไทย พัฒนาโดยคนไทย และเพื่อคนไทย อยู่ที่ว่าเราจะทำได้มากน้อยแค่ไหน
เท่านั้นเองครับ...

การเลือกซื้ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ประกอบ





การเลือกซื้ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ประกอบ


CPU : ควรเลือกใช้ตามประเภทของงาน เช่น งานเอกสารทั่วไป เล่นเกม หรืองานทางด้านมัลติมีเดีย ซึ่งแต่ละงานจะต้องการความเร็ว ความละเอียดในการแสดงผลแตกต่างกัน เช่น
Intel Pentium : รุ่น Celeron ความเร็ว 400-500 MHz
AMD : รุ่น K6-III ความเร็ว 400 MHz ขึ้นไป
Cyrix : รุ่น M II+ 450 MHz หรือ M III




Mainboard : เพื่อรองรับ CPU ที่เราได้เลือกมาแล้ว ควรเลือกแบบ ATX เพราะทำงานได้รวดเร็ว มีพื้นที่ในการจัดวางอุปกรณ์ได้เหมาะสม ระบายความร้อนได้ดี มีหลายยี่ห้อ เช่น Abit, Aopen, Intel



RAM : ควรเลือกขนาดความจุอย่างน้อย 64 MB ความเร็ว 100 MHz ขึ้นไป และเลือกยี่ห้อที่เชื่อถือได้ เช่น ฮิตาชิ ฮุนได แอลจี เอ็นอีซี เป็นต้น



Hard Disk : ควรเลือกแบบ UltraDMA/66 มีความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูล 66 MB/s ความจุ 4.3 GB และการรับประกัน 3 ปี





VGA Card : การ์ดแสดงผลส่วนใหญ่จะใช้ 3D Card เพราะประมวลผลภาพ 3 มิติได้ ขนาดหน่วยความจำมีตั้งแต่ 32 , 64, 128 และ 256 MB ยี่ห้อที่นิยมใช้ เช่น Addonics, SIS6326, Colormax S3 Savage4 Millennium G400, WinFast S320V เป็นต้น




Sound Card : ปัจจุบันมีซาวด์การ์ดแบบออนบอร์ดติดตั้งให้เรียบร้อยแล้ว







Drive : ความเร็วมาตรฐาน 45-50 X หน่วยความจำ 128-256 KB ยี่ห้อที่นิยมใช้ เช่น AOpen, Asus, CTX, LG, Philips, Pioneer, Sony ป็นต้น








Monitor : ควรเลือกจอ CRT เพราะสามารถปรับความละเอียดสูงสุดเพื่อความสบายตาได้มากกว่าจอ LCD และมีขนาดจอให้เลือกมากกว่า





Case : ควรเลือกซื้อ Case ที่มีขนาดพื้นที่ติดตั้งอุปกรณ์กว้าง ๆ มีพัดลมระบายความร้อนมาก ๆ





Power Supply : ควรมีกำลังจ่ายไฟ 350-450 วัตต์ จะทำให้การพ่วงต่อกับอุปกรณ์อื่น ๆ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น





Modem : ปัจจุบันใช้การเชื่อมต่อแบบอะนาล็อก 56 K หรือแบบความเร็วสูง ADSL มีทั้งติดตั้งภายในและภายนอก




Mouse : ควรเลือกเมาส์ที่มีล้อสำหรับเลื่อนหน้าจอ (Wheel Mouse) เป็นแบบไร้สาย หรือมีความรวดเร็วในการเลือกใช้งานโปรแกรมต่าง ๆ



Keyboard : ควรเลือกซื้อตามความต้องการของผู้ใช้เป็นหลัก หากต้องการคุณภาพและมีปุ่มฟังก์ชันการทำงานมาก ๆ จะมีราคาสูง


Speaker : ควรเลือกลำโพงให้สอดคล้องกับการ์ดเสียง จะได้เสียงที่มีคุณภาพ ขนาด 120 วัตต์ขึ้นไปเพื่อให้สะดวกในการให้ความบันเทิงทางด้านมัลติมีเดียหรือต่อพ่วงกับอุปกรณ์อื่น ๆ ได้เต็มรูปแบบ





การเลือกซื้อ Printer :
- ถ้าใช้งานทั่วไปควรเลือกประเภท Inkjet ความละเอียดไม่ต่ำกว่า 1200 x1200 จุดต่อตารางนิ้ว สามารถพิมพ์เอกสาร รูปภาพขาวดำ และภาพสีได้ ต้องดูว่าเครื่องพิมพ์ Inkjet รุ่นนี้ใช้ตลับน้ำหมึกรุ่นไหน ตลับสีกับขาวดำราคาเท่าไหร่ เพื่อเปรียบเทียบราคาให้คุ้มค่ากับการใช้งาน



- ถ้าต้องการปริมาณงานพิมพ์มาก ๆ ต้องใช้เครื่องประเภท Lazer มีราคาสูง แต่สะดวกรวดเร็ว

การเลือกซื้อ Scanner :
ควรเลือกหัวสแกนแบบ CCD ความละเอียด 1200 x1200 จุดต่อตารางนิ้วขึ้นไป สแกนเนอร์บางรุ่นสามารถสแกนแผ่นฟิล์ม แผ่นสไลด์ได้ แต่มีราคาแพงพอสมควร




การเลือกซื้อ Operating System :
ในปัจจุบันนิยมใช้ระบบปฏิบัติการ Windows XP, 2000




สรุป
การเลือกซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ เราต้องทราบว่า
1. เรามีความต้องการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ให้ทำอะไรให้เราบ้าง เช่น ใช้พิมพ์เอกสาร เล่นเกม ทำงานด้านกราฟิกส์ ท่องอินเทอร์เน็ต
2. ราคาเครื่อง ควรคำนึงถึงงบประมาณของเราหากใช้สำหรับงานทั่วไป ราคาจะไม่แพงมาก แต่หากต้องใช้ด้านกราฟิกส์ ต้องใช้สเป็คเครื่องที่สูง ราคาก็จะสูงตาม
3. เลือกดูตามศูนย์ไอที ซึ่งเป็นศูนย์การค้าที่ขายเกี่ยวกับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และสำนักงาน สอบถามพนักงานขายแต่ละร้านเพื่อความเข้าใจที่ตรงกับความต้องการของเรา
4. สเป็คเครื่อง ควรอ่านรายละเอียดเกี่ยวกับสเป็คของเครื่องที่มีอยู่ในแผ่นพับ แผ่นปลิว ของแต่ละบริษัท ซึ่งจะมีความแตกต่างกันทางด้านยี่ห้อ รุ่น ขนาด ความเร็ว ความจุ หน่วยความจำ ของแถม
5. การบริการหลังการขาย ข้อนี้มีความสำคัญอย่างมาก หากเครื่องมีปัญหา และไม่มีบริการหลังการขาย เราจึงควรเลือกรูปแบบการบริการมีอยู่ 2 แบบคือ
5.1 การรับประกันสินค้าแบบรวมค่าแรง เมื่อเครื่องเสีย ทางร้านจะส่งช่างมารับไปซ่อมจนเสร็จ โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใด ๆ ส่วนใหญ่จะเป็นเครื่องที่มียี่ห้อและราคาค่อนข้างสูง
5.2 การรับประกันแบบไม่รวมค่าแรง หากเครื่องเสีย เราต้องยกเครื่องไปซ่อมเอง ส่วนใหญ่จะเป็นเครื่องที่มีราคาถูก
6. ระยะเวลาในการรับประกันสินค้า จะขึ้นอยู่กับเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์แต่ละชิ้น ปกติจะมีการรับประกัน 1 ปี แต่ถ้าเป็นเครื่องที่มียี่ห้อ มีราคาแพง อาจรับประกันถึง 3 ปี
7. รายละเอียดในการประกันชิ้นส่วนอุปกรณ์
7.1 ฮาร์ดดิสค์ (Harddisk) บริษัทผู้ผลิตที่มีชื่อเสียงจะรับประกัน 3 ปี ถ้าเสียหายภายใน 1 เดือนแรกทางบริษัทจะเปลี่ยนฮาร์ดดิสค์ใหม่ แต่ไม่รวมถึงฮาร์ดดิสก์ไหม้เพราะเสียบแหล่งจ่ายไฟผิดขั้ว หรือทำหล่นกระแทกอย่างรุนแรง
7.2 เมนบอร์ด (Mainboard) ส่วนใหญ่จะรับประกัน 1 ปี แต่ไม่รวมถึงไหม้เพราะเสียบแหล่งจ่ายไฟผิดขั้ว เสียบการ์ดต่าง ๆ ลงไปอย่างแรง ทำให้หักหรือสายวงจรขาด
7.3 ซีพียู (CPU) บริษัทผู้ผลิตที่มีชื่อเสียงจะรับประกัน 3 ปี
7.4 หน่วยความจำ (Ram) หากราคาแพงจัดอยู่ในเกรดที่ดีจะรับประกันตลอดอายุการใช้งาน แรมเกรดทั่วไปราคาจะถูกกว่ามาก รับประกันเพียง 1 ปี
7.5 ฟล็อปปี้ดิสก์ (Floppy Disk) หากมีราคาแพงรับประกัน 1 ปี ราคาถูกจะรับประกันเพียง 1 เดือน
7.6 ซีดีรอม (CD-ROM) รับประกันเพียง 1 ปี หากเสียหายหรือมีปัญหาใด ๆ ให้ส่งทางร้านภายใน 15 วัน ทางร้านจะเปลี่ยนสินค้าให้ใหม่
7.7 การ์ดจอและการ์ดเสียง (Video & Sound Card) รับประกัน 1 ปี ส่วนมากอุปกรณ์นี้มักไม่เสีย ควรตรวจเช็คว่าเสียบการ์ดแน่นดีหรือเปล่า
8. แหล่งจ่ายไฟ (Power Supply) รับประกัน 1 ปี ควรใช้ขนาด 250 W. เป็นอย่างต่ำ เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาไฟไม่พอเมื่อต้องต่อพ่วงกับอุปกรณ์หลายชนิด
9. ความคุ้มค่า ควรใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อย่างคุ้มค่าสมราคา ไม่ควรเปิดทิ้งไว้หากไม่ได้ใช้ จะได้ช่วยประหยัดพลังงานของชาติได้อีกทางหนึ่ง

รูปอุปกรณ์คอมพิวเตอร์